อาชญากรรมมาแน่! ยุบ ‘ตำรวจรถไฟ’ ลุ้นแจ้งเกิด ‘ตำรวจรถราง’ ดูแลความปลอดภัย

พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันกองบังคับการตำรวจรถไฟ (บก.รฟ.) ยังคงมีตำรวจรถไฟทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกือบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อาทิ ผู้โดยสาร และพื้นที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ แต่หลังจากพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ 1 ปี หรือประมาณ ต.ค. 66 จะต้องยุบ บก.รฟคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ซึ่งขณะนี้กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ระหว่างหารือกับ รฟท. ถึงทางออกเรื่องนี้ เบื้องต้น บช.ก. ยินดีจัดส่งอัตรากำลังตำรวจไปทำหน้าที่ต่อบนรถไฟชั่วคราวตามคำร้องขอของ รฟท. จนกว่าจะมีทางเลือกอื่น เพื่อดูแลความปลอดภัยให้ผู้โดยสารในระหว่างเดินทางคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวต่อว่า บช.ก. มีอำนาจหน้าที่ดูแลประชาชนทั่วประเทศอยู่แล้ว ดังนั้นในระหว่างที่ยังไม่มีทางเลือกอื่น บช.ก. จะส่งตำรวจรถไฟที่เลือกอยู่สังกัด บช.ก. ต่อ ไปทำหน้าที่คล้ายๆ เดิมไปก่อน อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นส่วนตัวนั้น ยังอยากให้มีตำรวจรถไฟต่อไป ซึ่งเมื่อช่วงปลายปี 64 ที่เข้ามารับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางใหม่ๆ ได้เคยเสนอแนวคิดกับผู้บริหารประเทศ และผู้บังคับบัญชาอยากให้เพิ่มขอบเขตงาน และอยากให้เปลี่ยนชื่อตำรวจรถไฟ เป็นตำรวจรถราง เนื่องจากในอนาคตนอกจากรถไฟ จะมีรถไฟฟ้าอีกหลายเส้นทาง และมีรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ด้วย ซึ่งหากไม่มีตำรวจรถไฟอยู่บนรถไฟ หรือรถไฟฟ้า ก็จะมีความเสี่ยงเรื่องอาชญากรรมตามมาแน่นอน

พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวอีกว่า ข้อเสนอดังกล่าวในขณะนั้นไม่สามารถเดินหน้าต่อได้เพราะ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการกันมา 4-5 ปี และผ่านการอนุมัติแล้ว จึงไม่ทันแล้วที่จะมาขอปรับเปลี่ยนในวันนี้ อย่างไรก็ตามตนมีหน้าที่เสนอ แต่ไม่มีอำนาจ เชื่อว่าทางผู้บริหารประเทศ และผู้บังคับบัญชาคงพิจารณาถึงข้อดี และข้อเสียในภาพรวมทั้งหมดแล้ว ซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปว่าจะต้องยุบตำรวจรถไฟ ในฐานะที่เราเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ก็ต้องเคารพการตัดสินใจ และต้องปฏิบัติตามนโยบาย ส่วนแนวโน้มการตั้งตำรวจรถรางนั้น ในอนาคตก็อาจมีความเป็นไปได้ แต่คงไม่ใช่เวลานี้ โดยทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล หากรัฐบาลเอาจริงต้องการให้มีตำรวจรถราง ก็คิดว่าจะใช้เวลาดำเนินการไม่นาน

พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวด้วยว่า บก.รฟ. มีอัตรากำลังตำรวจรถไฟทั่วประเทศ 870 คน แต่ปฏิบัติงานอยู่จริงประมาณ 738 คน ที่ผ่านมาตำรวจรถไฟมีผลงานมากมาย อาทิ จับผู้ต้องหาคดียาเสพติด จับผู้ต้องหาตามหมายจับ จับผู้ต้องหาคดีข่มขืน รวมทั้งการช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ อย่างไรก็ตามเรื่องการดูแลความปลอดภัยในการเดินทางให้ผู้โดยสารเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ บช.ก.ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟกับ รฟท. เพื่อดูแลยกระดับความปลอดภัย ป้องกัน และปราบปรามปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวอีกว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการสนับสนุน แลกเปลี่ยน วางแผน ป้องกัน ปราบปราม หรือแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟร่วมกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลคนร้าย ผู้ก่อเหตุ หรือผู้ต้องสงสัย เช่น ข้อมูลระบบกล้องวงจรปิด (CCTV)เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟทุกรูปแบบ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้โดยสารที่มาใช้บริการ และปิดช่องปัญหาการเกิดอาชญากรรม การโจรกรรมทรัพย์สินของ รฟท. รวมถึงปัญหาอาชญากรรมในรูปแบบอื่นๆ ด้วย.